DOWN LOAD WEBSITE

การปรับทิศทางยุทธศาสตร์
การพัฒนาในปัจจุบัน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี*

อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชุมชนเมืองที่มีการขยายตัวไปตามแนวถนน ซึ่งเชื่อมระหว่างตัวอำเภอกับสนามบิน โดยผังเมืองได้กำหนดเขตการใช้ที่ดินบริเวณนี้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย

รูปแบบการใช้ที่ดินตามผังเมืองปัจจุบัน

แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพทางภูมิศาสตร์แล้วจะพบว่า แนวถนนนี้พาดผ่านพื้นที่ที่เป็นทางน้ำหลากที่จะไหลจากทางด้านลาดเขาออกสู่ทะเล การวางผังเมืองและการกำหนดแผนการใช้ที่ดินดังกล่าวจึงจัดว่าไม่สอดคล้องกับภูมิอากาศ โดยเป็นการส่งเสริมให้ตัวเมืองขยายตัวไปสู่พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมากขึ้นและเกิดความเสียหายสูง ไม่ต่างจากกรณีน้ำท่วมในปี พ.ศ.2554

ข้อมูลการคาดการณ์ภูมิอากาศอนาคตแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณฝนเพิ่มสูงขึ้น และรอบการเกิดฝนตกหนักก็มีแนวโน้มที่จะเกิดบ่อยขึ้น สรุปได้ว่าชุมชนเมืองพุนพินน่าจะมีแนวโน้มเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมมากขึ้นในอนาคต

ภาวะน้ำท่วมในปี พ.ศ.2554

แนวคิดเพื่อเป็นการปรับตัวต่อความเสี่ยงในระยะยาวคือ การปรับผังเมืองใหม่ โดยเสนอให้มีการพัฒนาเมืองพุนพินในลักษณะเมือง 2 ศูนย์กลาง จัดให้ 2 พื้นที่ ที่จะมีการขยายตัวมากขึ้น - พื้นที่การค้าและพื้นที่อยู่อาศัย ให้ไปรวมอยู่ทางด้านสนามบินซึ่งเป็นพื้นที่ดอน ซึ่งมีความเสี่ยงน้ำท่วมต่ำ และปรับแผนการใช้ที่ดินในเขตพื้นที่น้ำหลากให้เป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อเปิดทางให้น้ำหลากไหลลงทะเลได้อย่างสะดวก

แนวคิดการปรับผังเมืองใหม่ให้สอดคล้องกับ ภูมิอากาศในอนาคต

อย่างไรก็ดี การปรับตัวของชุมชนเมืองในระยะยาวก็อาจรวมถึงการปรับรูปแบบ อาคารบ้านเรือนและระบบทางระบายน้ำในเขตเมืองเก่า เพื่อให้สามารถรับมือกับ ปัญหาน้ำท่วมได้ดีขึ้นด้วย

กรณีตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึง การปรับกระบวนทัศน์โดยการแสวงหายุทธศาสตร์ การพัฒนาใหม่ และปรับทิศทางการพัฒนาให้สอดคล้องกับภูมิอากาศในอนาคต เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของเมืองในระยะยาว

แนวคิดการปรับรูปแบบการใช้ที่ดินใหม่ให้สอดคล้องกับภูมิอากาศในอนาคต

*ผลสรุปจากโครงการวิจัย “แนวทางการวางแผนด้านผังเมือง เพื่อรองรับความ เสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ : กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วมและแนวทางการ จัดการน้ำท่วมในเขตผังเมืองรวมอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี”
โดย ดร. วนารัตน์ กรอิสรานุกูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

การพัฒนา

เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและสังคม
(อดีต-ปัจจุบัน)

การขยายตัว
ของเศรษฐกิจและการค้า
ผลักดันใช้ชุมชนเมืองขยายตัว
ไปตามแนวถนนย่านเศรษฐกิจ
ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำหลาก
ย่านเศรษฐกิจประสบ
ปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง

ฝนตกมากและถี่

ปัจจุบัน

ปัจจุบัน ไม่มีการรับมือ
สถานการณ์น้ำท่วม

เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ
และสังคม (อนาคต)

ย่านเศรษฐกิจ
มีแนวโน้ม
ขยายตัว
มากขึ้น

ปริมาณฝนมากขึ้น
ฝนตกหนักถี่ขึ้น

ภาวะโลกร้อน

อนาคต

ชุมชนเมืองจะ
ประสบปัญหา
จากน้ำท่วมมากขึ้น
และรุนแรงขึ้น
จากปริมาณฝน
ที่มีแนวโน้มจะตก
มากขึ้นและถี่ขึ้น

แนวทางการปรับตัว
เพื่อจัดการความเสี่ยง

ตั้งเมือง 2 ศูนย์กลาง
จัด zoning,
วางแผนการใช้ที่ดินใหม่

ปรับปรุงทางระบายน้ำ
ใหม่ วางข้อกำหนดการ
ปลูกสร้างอาคารให้
สอดคล้องกับภาวะ
น้ำท่วม

ความมั่นคงเข้มแข็ง
และความทนทาน
ต่อสถานการณ์เสี่ยง

RESILIENCE
+
ROBUSTNESS