CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินของลุ่มน้ำห้วยหลวงและจังหวัดอุดรธานีเพื่อประเมินรูปแบบการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินใน 30 ปี ข้างหน้า (ปี พ.ศ. 2587) โดยจัดทำ ภาพฉายอนาคตของรูปแบบการใช้ที่ดินที่แตกต่างกัน โดยพิจารณาปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ความต้องการประเภทการใช้ที่ดิน นโยบายเชิงพื้นที่และการกำหนดพื้นที่คุ้มครอง เช่น พื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร ลักษณะทาง กายภาพของพื้นที่ เช่น ชุดดินและระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม และการสร้างรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เพื่อ นำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์การจัดสรรที่ดินที่เป็นไปตามบริบทของปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ผลการศึกษาที่คาดว่าจะได้รับคือ แผนที่การใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมผิวดินภายใต้ชุดของสมมุติฐานแรงขับเคลื่อนและแนวทางการ พัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงที่ แตกต่างกัน เพื่อนำไปใช้ประกอบข้อมูลนำเข้าของการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในลุ่ม น้ำห้วยหลวงที่ ดำเนินการโดยโครงการอื่นๆ ภายใต้ชุดโครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อไป
ดาวน์โหลดที่นี่