CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
ภัยพิบัติทางธรรมชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นสัญญาณที่เตือนให้สังคมไทยตระหนักว่าเราจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติเพราะสภาพอากาศรุนแรงมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้นในอนาคต การคิดอ่านเตรียมวิธีการรับมือจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ประเทศไทยอาจพิจารณาขยายบทบาทของการประกันภัย เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงในบริบทของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นกลไกที่เอื้อให้สังคมช่วยกันแบกรับความเสี่ยง และสามารถกระจายความเสี่ยงข้ามพื้นที่และข้ามห้วงเวลาที่ยาวนานในกรอบเวลาของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้
การใช้กลไกประกันภัยเป็นเครื่องมือบริหารจัดการ ความเสี่ยงจากสภาพอากาศแปรปรวนและสภาพ อากาศรุนแรงมีแนวทางการดำเนินการหลักๆ อยู่ 2 แนวทาง คือ
การประกันเพื่อชดเชยความเสียหายนั้นเข้าใจง่าย กล่าวคือ ถ้าเกิดความเสียหายก็จ่ายชดเชยกันไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ แต่มีความยุ่งยากในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร เพราะตรวจสอบความเสียหายในกรณีของการเสียหายบางส่วน (partial loss) ได้ยากหากมีผู้เอาประกันจำนวนมาก ส่วนอีกแนวทางหนึ่งคือ การประกันความเสี่ยงว่าจะเกิดสภาพอากาศรุนแรงขึ้นหรือไม่ เป็นการใช้ดัชนีชี้วัดสภาพอากาศที่ตกลงกันเป็นเงื่อนไขว่าจะจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ (weather index-based insurance) ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าได้มีการตกลงกันว่าถ้าปริมาณฝนสะสมที่อำเภอปากช่องในเดือนพฤษภาคมมีปริมาณน้อยกว่า 100 มม. จะถือว่าเกิด “ภัยแล้ง” ขึ้นในพื้นที่อำเภอนี้ เกษตรกรผู้เอาประกันจะได้รับเงินชดเชยตามกรมธรรม์ไม่ว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นหรือไม่ก็ตาม นี่เป็นแนวทางที่นิยมใช้กันในหลายประเทศเพราะสามารถดำเนินการได้ง่ายในการพิจารณาจ่ายชดเชย แต่ทั้งนี้ผู้เอาประกันจะต้องเข้าใจในหลักการการป้องกันหรือบริหารความเสี่ยงดังกล่าว
การนำกลไกประกันภัยมาใช้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพอากาศแปรปรวนและสภาพอากาศรุนแรงสำหรับประเทศกำลัง พัฒนานั้นจะต้องพิจารณาถึงกรมธรรม์ประกันกันภัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย (micro-insurance) ซึ่งจะอาศัยกลไกตลาดล้วนๆ ไม่ได้ แต่ต้องมีการสนับสนุนผู้เอา ประกัน (subsidized insurance) เช่น ชาวนาออกค่าเบี้ยประกันครึ่งหนึ่ง และรัฐบาลออกให้ครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าเกิดภัยพิบัติหรือสภาพอากาศรุนแรงตามเงื่อนไขของ กรมธรรม์ ทางบริษัทประกันก็จะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยให้ ทั้งนี้ทางบริษัทประกันในประเทศก็อาจจะทำการประกันต่อบริษัทรับประกันต่อในต่างประเทศไว้ด้วยเพื่อ ให้เกิดการแบ่งรับความเสี่ยงกันในวงกว้างมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยก็ได้มีการริเริ่มนำการประกันภัยมาใช้ในภาคเกษตรในรูปของการประกันภัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (micro-insurance) โดยมีการดำเนินการในหลายรูปแบบ แต่ก็เพิ่งดำเนินการมาเพียงระยะหนึ่งและยังจำกัดอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น
กรณีตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยการใช้กลไกใหม่ๆ เพื่อจัดการความเสี่ยงกับภูมิอากาศในอนาคต เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของสังคม
การประกันความเสียหาย
อันเนื่องมาจากสภาพอากาศรุนแรง
การประกันความเสี่ยงว่าจะเกิด
สภาพอากาศรุนแรงขึ้นหรือไม่
การพัฒนา
เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและสังคม
(อดีต-ปัจจุบัน)
การเกษตร
เสียหายจาก
อากาศแปรปรวน
อากาศแปรปรวน
ปัจจุบัน
เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ
และสังคม (อนาคต)
พืชผลเสียหาย
หนักขึ้นจาก
สภาพอากาศ
แปรปรวน
อากาศที่แปรปรวนบ่อยขึ้น
ภาวะโลกร้อน
อนาคต
ภาคส่วน
ต้องเผชิญ
ความเสี่ยง
มากขึ้น,
รุนแรงขึ้น
แนวทางการปรับตัว
เพื่อจัดการความเสี่ยง
ระบบประกันเพื่อกระจาย
ความเสี่ยงข้ามพื้นที่/
ข้ามเวลา (risk sharing/
risk transfer)
ความมั่นคงเข้มแข็ง
และความทนทาน
ต่อสถานการณ์เสี่ยง
RESILIENCE
+
ROBUSTNESS