DOWN LOAD WEBSITE

การวางแผนและยุทธศาสตร์เพื่อการปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

การวางแผนและยุทธศาสตร์เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น อาจเป็นการวางแผนในขอบเขตและขนาด (scale) ที่แตกต่างกัน โดยอาจพิจารณาถึงการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆ เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น หรือมองถึงการปรับตัวของพื้นที่ เช่น ชุมชนต่างๆ หรือพื้นที่ที่มีขนาดและขอบเขตใหญ่ขึ้น เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำ จังหวัด เป็นต้น ความหลากหลายเหล่านี้มีแนวทางและกรอบของการวางแผนการปรับตัวที่แตกต่างกัน ซึ่งในกรณีของการวางแผนสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ เราต้องพิจารณาถึงสถานการณ์แบบองค์รวม (Holistic Approach) โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศประกอบกับการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม และในอีกแง่หนึ่งต้องคำนึงถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อแต่ละภาคส่วน และผลสืบเนื่องของการรับมือของแต่ละภาคส่วนที่อาจเกิดผลสืบเนื่องข้ามภาคส่วนด้วย

การเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงด้าน
เศรษฐกิจสังคม

ระบบชีวภาพกายภาพ

เกษตร

ชุมชนเมือง

ท่องเที่ยว
บริการ

การค้า
อุตสาหกรรม

ระเบียบ กฎหมาย องค์กร
ทิศทางการพัฒนา

ความเป็นไปได้
ทางเทคนิค

การปรับตัว

ความเป็นไปได้ทาง
เศรษฐศาสตร์

แนวคิดการปรับตัวต่อภูมิอากาศโดยการศึกษาวิเคราะห์แบบองค์รวม

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะวางแผนการปรับตัวในแง่ใดก็ตาม ผู้วางแผนและนโยบายในระดับต่างๆ และในภาคส่วนต่างๆ ควรที่จะต้องควบรวมประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตลงในกระบวนการวางแผน และพิจารณาเป้าหมายของยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าผลของการพัฒนาที่วางไว้ในปัจจุบันจะไม่นำสังคมไปสู่ปัญหาใหม่ภายใต้สภาพการณ์ที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ทั้งนี้ เราควรเข้าใจว่าการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องที่หลายหน่วยงานต้องนำไปพิจารณาและดำเนินการร่วมกัน โดยเฉพาะหน่วยงานที่วางแผนพัฒนาต่างๆ

“การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
เป็นเรื่องเฉพาะที่และเฉพาะเวลา
การวางแผนจึงต้องเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
เพื่อให้สอดคล้องกับพลวัตของสังคม”