DOWN LOAD WEBSITE

โครงการระบบชลประทานขนาดเล็ก
โดยการสูบน้ำจากลำน้ำธรรมชาติ

พื้นที่หนองน้ำที่ควรได้รับการฟื้นฟูเพื่อสำรองน้ำ
จากฤดูน้ำท่วม ไว้ใช้ทำนาในฤดูแล้ง

การปรับวิธีขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ที่มีอยู่ ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์*

ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนเกษตรที่ตั้งอยู่ริมลำน้ำปาว ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาสำคัญของลำน้ำชี พื้นที่นาข้าวในบริเวณดังกล่าวมักประสบภาวะน้ำท่วมเป็นประจำ ทางชุมชนจึงได้คิดหายุทธศาสตร์ชุมชนเพื่อจัดการกับความเสี่ยงนี้ ทางชุมชนมีแนวคิดที่จะปรับปฏิทินเพาะปลูกใหม่ โดยเปลี่ยนจากการทำนาในฤดูฝนซึ่งเสี่ยงต่อน้ำท่วม มาเป็นการทำนาปรังในช่วงหลังฤดูน้ำท่วม และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวโดยการพัฒนาระบบชลประทานขนาดเล็ก อาศัยการสูบน้ำจากลำน้ำปาวขึ้นมาทำนา

ข้อมูลการคาดการณ์ภูมิอากาศอนาคตแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชีตอนบนมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณฝนในฤดูฝนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การทำนาในฤดูฝนดังที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นอาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมมากขึ้นในอนาคต การปรับปฏิทินเพาะปลูกมาทำนาปรังหลังฤดูฝนจึงจัดว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต อย่างไรก็ดีข้อมูลการคาดการณ์ภูมิอากาศอนาคตก็แสดงให้เห็นว่าในอนาคต ฤดูแล้งจะร้อนมากขึ้นและนานขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชุมชน โดยการอาศัยน้ำจากลำน้ำธรรมชาติเพื่อการทำนาปรังนั้นไม่น่าจะสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และอาจทำให้ชุมชนต้องเผชิญกับภัยในอนาคต เนื่องจากน้ำในลำน้ำธรรมชาติอาจจะลดระดับลง หรือมีความต้องการใช้น้ำจากลำน้ำปาวนี้มากขึ้น ซึ่งอาจจะต้องมีการแบ่งสรรน้ำให้กับผู้ที่อยู่ท้ายน้ำ และอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งในเรื่องของการจัดสรรน้ำจากลำน้ำธรรมชาติ

แนวคิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในกรณีนี้ก็คือ การพัฒนาแหล่งน้ำที่จะกักเก็บน้ำในฤดูฝน ซึ่งปัจจุบันก็มีภาวะน้ำท่วมเป็นประจำอยู่แล้วและภาวะน้ำท่วมนี้อาจทวีความรุนแรงมากขึ้นใน อนาคต เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการทำนาปรังในฤดูแล้ง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต

กรณีตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยการปรับวิธีการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับภูมิอากาศในอนาคต เพื่อให้ยุทธศาสตร์ชุมชนยังคงบรรลุเป้าหมายภายใต้ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

*ผลสรุปจากโครงการวิจัย “การประเมินผลกระทบ ความเสี่ยง ความล่อแหลมเปราะบางของระบบ การเกษตรและสังคมเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจและ สังคมในอนาคต : กรณีศึกษาลุ่มน้ำชี-มูล” โดย ดร. วิเชียร เกิดสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นายศุภกร ชินวรรโณ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก (SEA START RC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

การพัฒนา

เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจและสังคม
(อดีต-ปัจจุบัน)

ชาวบ้านทำนา
ในหน้าฝน
และประสบปัญหา
น้ำท่วม

ปัจจุบัน

เปลี่ยนไปทำนาปรัง
แทนนาปี และพัฒนา
ชลประทานโดยการ
สูบน้ำจากลำน้ำปาว
มาใช้ในนาปรัง

เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ
และสังคม (อนาคต)

การขยายตัว
ของพื้นที่
นาปรัง

ฤดูฝนมากขึ้น
ฤดูแล้ง ร้อนมากขึ้นและนานขึ้น

ภาวะโลกร้อน

อนาคต

ชาวบ้านเสี่ยงประสบ
ปัญหาภัยแล้งมากขึ้น
เพราะลำน้ำอาจมีน้ำ
ไม่เพียงพอสำหรับ
การทำนาในหน้าแล้ง

การสูบน้ำจากแม่น้ำ
ยังไม่สอดคล้องกับ
แนวโน้มการเปลี่ยน
แปลงภูมิอากาศ
เพราะน้ำในแม่น้ำ
อาจลดลงในหน้าแล้ง

แนวทางการปรับตัว
เพื่อจัดการความเสี่ยง

พัฒนาแหล่งน้ำไว้
กักเก็บน้ำในฤดูฝน
เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้
หน้าแล้ง, ปรับปรุง
อ่างเก็บน้ำ

ความมั่นคงเข้มแข็ง
และความทนทาน
ต่อสถานการณ์เสี่ยง

RESILIENCE
+
ROBUSTNESS