DOWN LOAD WEBSITE

  • โครงการวิจัยย่อย 4 ชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การปรับตัวต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จังหวัดอุดรธานีและลุ่มน้ำห้วยหลวง: “การศึกษาความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนเมืองเขต อ.เมืองอุดรธานี และพื้นที่ข้างเคียงจากภาวะน้ำท่วมเพื่อการจัดการความเสี่ยงเชิงพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (ดร.นิจ ตันติศิรินทร์ - 557)

    ในปี 2558 ประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC : ASEAN Economic Community) จังหวัดอุดรธานีซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Logistics) ของภูมิภาคและอาเซียนด้วยหากแต่ว่าอุดรธานียังมีปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาของจังหวัดซึ่งเกิดจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน

    ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งประกอบด้วยปัญหาภัยแล้งและภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมืองซึ่งทำให้อุดรธานีมีปัญหาในการจัดการน้ำเพื่อใช้สำหรับภาคการเกษตรในจังหวัดและการใช้น้ำสำหรับภาคครัวเรือนและภาคการผลิตในพื้นที่เมืองอีกประการหนึ่งคือ ปัจจัยภายในซึ่งประกอบด้วยการขยายตัวของพื้นที่เมืองและจำนวนประชากรซึ่งการขยายตัวนี้ยังอาจส่งผลให้ภัยแล้งและภัย น้ำท่วมมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ผลกระทบของภาวะน้ำท่วมในความรุนแรงต่างๆ ต่อเมืองมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกัน การวิเคราะห์ความเสี่ยงของเมืองจากภาวะน้ำท่วมนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาความเสี่ยงจากปัจจัยกายภาพและการพัฒนาเมืองด้านเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนั้น การขยายตัวของพื้นที่เมืองและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภาวะน้ำท่วม ยังเกินขอบเขตพื้นที่การบริหารจัดการขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพียงหน่วยงานเดียว การดำเนินการเพื่อรับมือกับอุปสรรคดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจากในปัจจุบันมีช่องว่างของกลไกสถาบันที่มีผลต่อการดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงของเมือง ตลอดจนท้องถิ่นและภาครัฐยังขาดเอกภาพในการรับมือกับภาวะเสี่ยงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในพื้นที่ศึกษาไม่สามารถสนองตอบต่อการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การตั้งรับปรับตัวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงได้นำมาซึ่งการวิเคราะห์ช่องว่างของกลไกสถาบัน เพื่อความเป็นเอกภาพและลดช่องว่างของกลไกสถาบันในการวางแผนและดำเนินการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงในอนาคต

    ดาวน์โหลดที่นี่