DOWN LOAD WEBSITE

  • โครงการวิจัยย่อย 5 ชุดโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การปรับตัวต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จังหวัดอุดรธานีและลุ่มน้ำห้วยหลวง: “แนวโน้มผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อพื้นที่ภายใต้อิทธิพลเกลือในพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญของจังหวัดอุดรธานี” (ดร.โพยม สราภิรมย์ - 2557)

    โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจความเสี่ยงและข้อจำกัดของพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญในจังหวัดอุดรธานีต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของความเค็มในดินและน้ำใต้ดินในอนาคต โดยมุ่งเน้นการศึกษาหาข้อมูลเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต เป็นการศึกษาลักษณะทางอุทกธรณีวิทยา ชั้นเกลือหิน ดินเค็ม และทำความเข้าใจกระบวนการเกิดพื้นที่น้ำขัง ดินเค็ม สำรวจ ติดตามข้อมูล จัดทำแผนที่อุทกธรณีวิทยา ทำการทดลองสมบัติทางชลศาสตร์และการพาความเค็มในดินและหินอุ้มน้ำ และจัดทำฐานข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการแพร่กระจายของพื้นที่ภายใต้อิทธิพลเกลือ ประยุกต์ใช้แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ศึกษาความสัมพันธ์ของภูมิอากาศอุทกวิทยา อุทกธรณีวิทยา และการไหลของน้ำใต้ดิน การแพร่กระจายความเค็มในน้ำใต้ดินและดิน และจำลองแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มเติมน้ำใต้ดิน การเปลี่ยนแปลงความเค็มในน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดิน และในดินโดยเฉพาะในเขตรากพืชในนาข้าว แบบต่างๆ เช่น นาดอน นาลุ่ม นาในพื้นที่ดินเค็มต่าง ๆ กัน และนาในและนอกเขตชลประทาน เป็นต้นแล้วทำการประเมินผลกระทบต่อผลผลิตข้าวจากโดยใช้แบบจำลองพืช เนื่องจากการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในอนาคต 30 ปี และประเมินความเสี่ยงและข้อจำกัดของพื้นที่ปลูกข้าวต่อสภาวะดินเค็มในอนาคต เพื่อให้ได้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการปลูกข้าวที่เสี่ยงต่อความเค็มได้อย่างเหมาะสม ร่วมกับการจัดการและการวางแผนระบบเกษตรกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงน้ำต้นทุน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เพื่อวางแผนการจัดการพื้นที่ปลูกข้าวสำคัญของจังหวัดอุดรธานีต่อไปในอนาคต

    ดาวน์โหลดที่นี่