CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
การวิจัยนี้ได้ทําการศึกษาบ้านพักอาศัยพื้นถิ่นในชุมชนริมน้ำอําเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มในภาคกลางที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่อประเมินความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้และนําเสนอทางเลือกในการสร้างหรือปรับปรุงบ้านพักอาศัยในชุมชนริมน้ำเพื่อรับมือกับความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมุ่งเน้นในประเด็นปัญหาน้ำท่วม การศึกษาได้วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่ศึกษา และศึกษาพัฒนาการของบ้านพักอาศัยแบบต่าง ๆ ในชุมชนจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันและทบทวนองค์ความรู้และแนวทางที่ชาวบ้านใช้ในการสร้างบ้านพักอาศัยอันสัมพันธ์กับภูมิอากาศและประเด็นน้ำท่วม และศึกษาความอ่อนไหวต่อปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยในชุมชน การศึกษาได้ลงพื้นที่เพื่อสํารวจความเสียหายในบ้านพักอาศัยอันเกิดมาจากน้ำท่วมในบ้านพักอาศัยรูปแบบต่าง ๆ โดยยึดเอาความเสียหายจากกรณีน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปลายปีพ.ศ. 2554 เป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อประเมินขีดความสามารถในการรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมของบ้านพักอาศัยแบบต่าง ๆ ในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพในชุมชนริมน้ำ อําเภอเสนา ที่เปลี่ยนไปทําให้ความสอดคล้องกับสภาพน้ำลดลงและเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมมากขึ้นทั้งต่อบ้านพักอาศัยและวิถีชีวิต อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยแบบพื้นถิ่นที่มีอยู่ในชุมชนสามารถช่วยให้บ้านพักอาศัยในชุมชนมีความเสียหายจากน้ำท่วมไม่สูงมาก และบ้านพักอาศัยเหล่านี้ยังมีความสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่แบบร้อนชื้น บ้านพื้นถิ่นรูปแบบต่างๆที่มีใต้ถุนสูงทําให้เกิดความยืดหยุ่นต่อน้ำท่วมในระดับต่างๆและลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้ดีเมื่อน้ำท่วมสูงในระดับผิดปกติ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารูปแบบบ้านพื้นถิ่นพบในชุมชนที่ช่วยให้มีความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในปัจจุบันและอนาคตในบริบทของชุมชนริมน้ำคือ บ้านปูน (บ้านโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก) หลังคาเตี้ยมีใต้ถุน บ้านรูปแบบนี้มีความเสียหายจากน้ำท่วมน้อยที่สุด ทั้งองค์ประกอบด้านงานโครงสร้างและด้านงานสถาปัตยกรรมของบ้าน และมีความสบายเชิงอุณหภูมิพอสมควร นอกจากนี้ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันบ้านปูนยังมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมความเสียหายอันเกิดจากน้ำท่วมน้อยกว่า อย่างไรก็ตามการอาศัยในบ้านรูปแบบนี้จะร้อนอบอ้าวกว่าบ้านไม้ เช่น บ้านเรือนไทย บ้านเรือนไทยประยุกต์ และบ้านทรงบังกะโล (บ้านไม้หลังคาเตี้ยมีใต้ถุน) ซึ่งเป็นรูปแบบดังเดิมของบ้านพื้นถิ่นในชุมชนบ้างเล็กน้อย เนื่องจากในบ้านปูนนี้จะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงกว่า ความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า และความเร็วลมต่ำกว่าบ้านไม้ การศึกษาทําให้ได้ข้อสรุปว่าการใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นแต่ประยุกต์วัสดุและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัยขึ้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีที่สุด
ดาวน์โหลดที่นี่