CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
โครงการมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาบริบทของน้ำต่อความเป็นอยู่ การดำรงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลุ่มน้ำเสียวใหญ่ในปัจจุบัน 2) ศึกษาความเสี่ยงในวิถีการดำรงชีพและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวนาทุ่งกุลาร้องไห้ภายใต้แรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 3) ศึกษาผลสืบเนื่องของกลยุทธ์การปรับตัวของแต่ละชุมชนที่มีต่อชุมชน วิธีการศึกษาประกอบด้วย 4 วิธีการ คือ 1. ประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน (RRA) 2. การจัดทำภาพฉายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต 3. การจัดทำภาพฉายการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ภาวะเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต และ 4.การปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชน (PAR) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ชุมชนในลุ่มน้ำเสียวใหญ่มีความผูกพันกับทรัพยากรน้ำและใช้ประโยชน์จากแม่น้ำทั้งในการเกษตรและสาธารณูปโภค ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมีผลต่อความเป็นอยู่การดำรงชีพ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ระบบเกษตรของทุกชุมชนศึกษามีความเสี่ยงทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวเป็นอย่างมาก แต่วิธีการที่ชุมชนดำเนินการในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ส่ง ผลให้ระบบการเกษตรของแต่ละชุมชนในปัจจุบันมีความเสี่ยงและความเปราะบางแตกต่างกันไป การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตส่งผลให้ระบบเกษตรมีความเปราะบางมากกว่าปัจจุบัน สรุปและอภิปรายผล การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของชุมชนที่มุ่งแก้ปัญหาเพียงชุมชนใดชุมชนหนึ่งในอดีตอาจไม่ได้แก้ปัญหาหรือลดความเสี่ยงในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ อาจกลับเพิ่มความเสี่ยงและผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง แต่ดำเนินการร่วมกันหลายชุมชนและมีการมองภาพรวมทั้งระบบลุ่มน้ำจะนำไปสู่การลดความเสี่ยง ลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ดีกว่า ทั้งช่วยลดความขัดแย้งและประหยัดงบประมาณ นอกจากนี้ การวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับชุมชนสามารถดำเนินการควบคู่ร่วมกับการวางแผนพัฒนาของชุมชนตามปกติโดยพิจารณาถึงการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตรวมอยู่ด้วยข้อเสนอแนะ การขับเคลื่อนและขยายผลการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับพื้นที่ชุมชนไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนงานขององค์กร
ดาวน์โหลดที่นี่