CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
ภาวะโลกร้อนนอกจากจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งส่งผลต่อผลผลิตการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เป็นระบบเกษตรน้ำฝนแล้ว ยังก่อให้เกิดกลไกข้อตกลงนานาชาติที่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดการลดการใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuels) โดยหันมาพึ่งพลังงานทดแทนให้มากขึ้น การศึกษานี้จึงทำการประเมินผลผลิตพืชไร่นาในอนาคตภายใต้ข้อสมมุติฐานการปรับโครงสร้างพื้นที่เพาะปลูกที่แตกต่างกัน โดยคำนึงถึงอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผลผลิตเกษตรใน
อนาคต การประเมินนี้เป็นการพิจารณาถึงขีดความสามารถในการผลิตพืชไร่-นาโดยประมาณ โดยพิจารณาถึงขีดความสามารถทางกายภาพของพื้นที่และการตอบสนองของพืชต่อสภาพอากาศในอนาคต ภายใต้การบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกในรูปแบบหนึ่ง การศึกษานี้เป็นการจัดทำภาพฉายอนาคต (Scenario) และทำการวิเคราะห์ผลผลิตภายใต้สถานการณ์จำลองต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจถึงทางเลือกอนาคตในแนวทางต่าง ๆ ทั้งนี้การทำภาพฉายอนาคตนี้ไม่ใช่การวิเคราะห์เพื่อทำนายอนาคต แต่เป็นการหาทางเลือกที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากแนวโน้มที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ภาพฉายอนาคตอาจมีหลายภาพแต่จะต้องมีความเป็นไปได้ และมักเกิดขึ้นมาจากความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของตัวแปรหลายชนิดตามเวลาที่เปลี่ยนไป
การศึกษานี้เป็นการประเมินผลผลิตข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง ในอนาคตครอบคลุมช่วงเวลา 3 ทศวรรษในระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2563-2592 (ช่วงทศวรรษที่ 2020s – 2040s3) โดยพิจารณาจากภาพฉายอนาคตที่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูก 2 แนวทาง คือแนวทางที่เน้นการผลิตอาหาร คือ ข้าว และ แนวทางที่เน้นการผลิตพืชไร่เพื่อใช้ผลิตพลังงานทดแทน คือ อ้อย และ มันสำปะหลังโดยตั้งสมมุติฐานกำหนดให้พื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูลเป็นตัวแปรหลักของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะปลูกของประเทศไทยในอนาคต ผลการศึกษานี้จะชี้ให้เห็นถึงกรอบและแนวทางในการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตลอดจนผลวิเคราะห์ภายใต้เงื่อนไขหนึ่งซึ่งชี้ให้เห็นรูปแบบการจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกที่จะตอบสนองความต้องการด้านอาหารและพลังงานตามสถานการณ์อนาคตได้ในระดับหนึ่ง
ดาวน์โหลดที่นี่