CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
ชุมชนไทยในปัจจุบันตกอยู่ใต้ภาวะเสี่ยงจากสภาพอากาศแปรปรวนและภัยพิบัติเป็นจำนวนมากทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งคือ ชุมชนและสมาชิกของชุมชนมีขีดความสามารถที่จำกัดในการรับมือกับสถานการณ์เสี่ยงที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะฝนแล้ง น้ำท่วม หรือ ภัยพิบัติอื่น ๆ โดยที่ยังต้องพึ่งพากลไกของภาครัฐตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งในหลายกรณีก็ไม่พอเพียงต่อการจัดการกับสถานการณ์ภายใต้ภาวะเสี่ยงเหล่านั้น และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตจากภาวะโลกร้อนที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นอาจส่งผลให้ชุมชนต่าง ๆ ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจจะเป็นความเสี่ยงที่มีระดับความรุนแรงมากขึ้น หรือรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม การสร้างขีดความสามารถให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการกับความเสี่ยงได้สูงขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นในสังคมไทยภายใต้ภาวะคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศรายงานนี้นำเสนอเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ชุมชนในสังคมไทยตกอยู่ใต้ความเสี่ยงจากสภาพอากาศแปรปรวนโดยภาพรวม และตัวอย่างของความเสี่ยงของชุมชนในอนาคตอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนสรุปให้เห็นถึงการที่ชุมชนขาดขีดความสามารถในการรับมือกับผลกระทบและความเสี่ยงจากสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ โดยเป็นการสังเคราะห์ขึ้นจากผลการศึกษาจากโครงการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการมา
ในอดีต และนำเสนอแนวทางในการสร้างขีดความสามารถของชุมชนอันเป็นผลสรุปจากการรวบรวมความคิดเห็นจากการประชุมระดมความคิดเห็นของหน่วยงานภาคประชาสังคมซึ่งประกอบด้วย องค์กรพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชน นักวิชาการ อีกทั้งผู้แทนของหน่วยราชการที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 และ 30 มิถุนายน 2553 ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบของการจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศโลก การผันผวนของราคาพลังงาน และวิกฤติอาหารโลก ของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติการพิจารณาถึงความเสี่ยงของชุมชนต่าง ๆ
ในรายงานนี้ มุ่งนำเสนอในบริบทของชุมชนเกษตรชุมชนชายฝั่ง และชุมชนเมือง โดยพิจารณาถึงภาวะเสี่ยงและความล่อแหลมเปราะบางของชุมชนจากสภาพอากาศรุนแรงจากการที่ชุมชนเปิดรับต่อผลกระทบของสภาพอากาศรุนแรงเหล่านั้น และความไวต่อผลกระทบนั้น ๆ ประกอบกับขีดความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ภายใต้สภาพอากาศแปรปรวนและภาวะสภาพอากาศรุนแรง ซึ่งภาวะเสี่ยงและความล่อแหลมของชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความเฉพาะตัวแตกต่างกันไปตามสภาพทางกายภาพและบริบททางด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ซึ่งแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศรุนแรงในรูปแบบและระดับความรุนแรงที่เหมือนกันก็ตาม นอกจากนั้นพลวัตทางสังคมและเศรษฐกิจจะส่งผลให้ความเสี่ยงและความล่อแหลมของชุมชนต่าง ๆ นั้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอีกด้วย ทั้งนี้ความไม่แน่นอนในการคาดการณ์สถานการณ์อนาคต และที่สำคัญคือ ความไม่แน่นอนของพลวัตของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตระยะยาว ที่จะส่งผลให้ชุมชนเปิดรับต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความไวที่จะได้รับผลสืบเนื่องจากผลกระทบนั้น ๆ ประกอบกับขีดความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์อันเนื่องจากผลกระทบและผลสืบเนื่องเหล่านั้นแตกต่างกันไป ทำให้การพิจารณาภาวะเสี่ยงและความล่อแหลมเปราะบางของชุมชนอันเนื่องมาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองภาพชุมชนทั้งหมดในแต่ละภาคส่วนภายใต้บริบทเดียวกันหรือกำหนดแผนการปรับตัวขึ้นโดยคำนึงถึงเพียงบริบทของสังคมในปัจจุบันดังนั้น แนวทางการสร้างขีดความสามารถชุมชนเพื่อให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาถึงกรอบแผนงานที่เป็นการจัดตั้งกระบวนการที่เป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งต่อผลกระทบจากสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ในระยะยาว โดยเป็นการวางรากฐานการวางยุทธศาสตร์ชุมชนระยะยาวที่รวมการบริหารจัดการความเสี่ยงในอนาคตเข้าไว้ด้วยภายใต้การจัดทำภาพฉายอนาคตระยะยาวในหลายรูปแบบเพื่อให้เกิดทางเลือกในการจัดการกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์อนาคต ทั้งนี้แผนแม่บทนี้จะต้องจัดตั้งกลไกที่สนับสนุนให้ชุมชนสามารถดำเนินการวางยุทธศาสตร์ชุมชนระยะยาวและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นั้นได้ ซึ่งจะต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐและภาคประชาสังคม ซึ่งอาจจะดำเนินการในกรอบของการจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน โดยขยายกรอบเวลาให้ครอบคลุมระยะเวลาที่ยาวนานมากขึ้นตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อีกทั้งคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระยะยาวทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นเงื่อนไขประกอบในการวางยุทธศาสตร์ ทั้งนี้จะต้องมีการทบทวนเป็นระยะ ๆ ในอนาคตเพื่อปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับความรู้ใหม่และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต
ดาวน์โหลดที่นี่