DOWN LOAD WEBSITE

  • สังคมกับความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (2556)

    ในที่ประชุมต่างๆ เกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้น ผมมักได้ยินคํากล่าวที่ว่า “คนกลุ่มที่ยากจนที่สุดคือกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากที่สุด ดังนั้นการวางแผนด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะต้องให้ความสําคัญกับกลุ่มสังคมที่ยากจนที่สุดก่อน” อยู่เสมอๆ ซึ่งในความเห็นของผมนั้น ผมคิดว่าคํากล่าวนี้เป็นการมองประเด็นหรือตีความที่อาจจะเป็นจริงแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น จริงอยู่ สังคมหรือคนกลุ่มที่ยากจนนั้นเขาขาดเงินและทรัพยากรที่จะจัดการกับปัญหาหรือเพื่อใช้ดําเนินการให้เกิดการปรับตัวได้ แต่อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าการที่ชุมชนหรือสังคมมีความเปราะบาง (ซึ่งผมอยากจะเรียกว่า “ภาวะล่อแหลมที่จะตกอยู่ในความเดือดร้อน”) นั้นมีแง่มุมที่ควรพิจารณามากกว่านี้กล่าวคือ ต้องพิจารณาถึงกลุ่มสังคมกับการเปิดรับต่อภัยธรรมชาติหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศว่ามากน้อยเพียงไร ซึ่งอาจพิจารณาถึงถิ่นที่ตั้งหรือการดําเนินชีวิต เช่น ชุมชนริมนํ้าหรืออยู่ในพื้นที่ลุ่มตํ่านั้นน่าจะเปิดรับกับภัยนํ้าท่วมมากกว่าชุมชนบนที่ดอน หรือ ชุมชนที่ทําการเกษตรโดยอาศัยนํ้าฝนก็จะเปิดรับกับภัยแล้งมากกว่าชุมชนที่อยู่ในเขตชลประทาน เป็นต้น อีกประการหนึ่งคือความไวที่จะตกอยู่ในภาวะเดือดร้อนเมื่อเกิดผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศขึ้น เช่น เมื่อนํ้าท่วมหรือภาวะแห้งแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้นหรือเกิดบ่อยครั้งขึ้น หรือหากเกิดการขยับเลื่อนของฤดูกาลนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินและ/หรือ วิถีชีวิตจะรุนแรงเพียงใด นอกจากนั้น ขีดความสามารถในการดําเนินการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวของชุมชนหรือกลุ่มสังคมต่างๆ นั้นจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปเพียงใดและเพียงพอต่อการรับมือกับสถานการณ์นั้นๆ หรือไม่

    ดาวน์โหลดที่นี่