CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
เรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนี้เป็นประเด็นที่ได้มีการพูดกันในสังคมไทยมาระยะหนึ่งแล้วอย่างไรก็ดี การวางแผนหรือยุทธศาสตร์เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระยะที่ผ่านมาก็มักจะเน้นความพยายามที่จะจัดการกับปัญหาในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นหลัก โดยยึดผลการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อภาคส่วนต่าง ๆ เป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผน กรอบแนวคิดเช่นนี้นํามาซึ่งคําถามถึงความละเอียดถูกต้องของผลการประเมินดังกล่าวและก่อให้เกิดความไม่แน่ใจในการวางแผนต่าง ๆ ที่จะจัดการกับสถานการณ์ในอนาคตระยะยาว ซึ่งในที่สุดก็ส่งผลให้สังคมไทยยังคงขาดแผนงานหรือการดําเนินการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรมในบริบทที่ถูกต้อง
เป้าหมายสําคัญในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นเป็นการปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่การเป็นสังคมที่มั่นคงและทนทานต่อความเสี่ยงจากภูมิอากาศ (Climate Resilience Society) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปในอนาคต และส่งผลให้สังคม และ/หรือ ภาคส่วนต่างๆ ตกอยู่ในความเสี่ยงในระดับหรือรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม การวางแผนหรือยุทธศาสตร์ในบริบทนี้ผู้วางนโยบายหรือแผนงานต่าง ๆ ควรจะต้องปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm shift) ในการวางแผนต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และคํานึงว่าวิธีการวางแผนหรือนโยบายต่าง ๆ ในปัจจุบันนั้นจะต้องมีการปรับกรอบแนวคิดบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ดาวน์โหลดที่นี่