CASE STUDIES กรณีศึกษา
การปรับวิธีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่มีอยู่
กลไกในการจัดการความเสี่ยง
E-library
งานวิจัยและเอกสารอื่นๆ คลิกที่นี่
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปรากฎการณ์จากภาวะโลกร้อนอันเป็นผลจากภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมในช่วงคริสตศตวรรษที่ 18 และทวีจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าจะหยุดยั้งลงได้อย่างไรตราบใดที่โลกยังต้องพึ่งพาพลังงานจากนํ้ามันและถ่านหิน (fossil fuel) เป็นหลักดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะหาพลังงานทดแทนแต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยอยู่มาก นอกจากนั้น กลไกระเบียบโลกที่มีอยู่ตามข้อตกลงนานาชาติเพื่อที่จะควบคุมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งข้อตกลงที่สําคัญได้แก่ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ก็เพียงแต่มีผลในการชะลอภาวะโลกร้อนออกไปได้บ้างเท่านั้น โดยเป้าหมายของพิธีสารเกียวโตนั้นได้ตั้งเป้าว่า ภายในปี ค.ศ. 2012 จะให้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มที่อาจเรียกได้ว่า “ประเทศที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากและพัฒนาแล้ว” (Annex 1 countries) ลดลงประมาณ 5% จากปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี ค.ศ. 1990 แต่กระนั้นก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงพากันคาดว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงหรือเปลี่ยนรูปแบบต่อไปอีกในอนาคตจึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะหลีกเลี่ยงได้ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงเป็นประเด็นสําคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจะต้องให้ความสําคัญมากขึ้น
ดาวน์โหลดที่นี่